top of page
Writer's pictureADMIN JAA

ฝึกทักษะการฟังแบบ Mastering Engineer ด้วย Plugin iZotope



คุณคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็น Mastering engineer คืออะไร คือการมีเครื่องมือสำคัญอย่าง Equalizer, Compressor , ลำโพงเทพๆ หรือ ห้อง Studio แพงๆ มันก็จริงที่สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับอาชีพนี้อย่างยิ่ง แต่มันก็เท่านั้น หากไม่ได้มีหูในการฟังที่ดี


ในความเป็นจริง หูของคุณเป็นเพียงส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์เท่านั้น หน้าที่ของหูคือเปลี่ยนการสั่นสะเทือนของเสียงในอากาศเป็นสัญญาณทางระบบประสาท สมองของคุณต่างหากที่ทำหน้าที่ในการได้ยินที่แท้จริง โชคดีที่สมองของเราเรียนรู้และปรับตัวได้ดี และนี่คือ 5 เคล็ดลับในการฝึกหูรวมถึงสมองที่จะช่วยให้คุณฟังได้ราวกับเป็น Mastering engineer

1. ฝึกแยกแยะความถี่เสียง


การเป็น Mastering engineer ต้องมีทักษะขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการจับคู่ระดับเสียงได้ นั่นก็คือต้องสามารถควบคุมความสมดุลของเสียงได้ และที่สำคัญ ต้องสามารถแยกแยะได้ว่าช่วงความถี่ใดที่ขาดหรือมากเกินไป การฝึกแยกความถี่เสียงจะช่วยให้ Equalizer ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปกติแล้วช่วงของการได้ยินของมนุษย์จะอยู่ที่ระยะ 10 Octave หากคุณไม่เคยฝึกหูแยกแยะความถี่เสียงมาก่อน ให้คุณใช้ Ozone equalizer presets เพื่อให้คุณสามารถฝึกฟังในแต่ละอ็อคเทฟได้อย่างเสมือนจริง โดยในตอนแรกคุณควรลองฝึก Single octave ก่อน จากนั้นค่อยฝึกความถี่ที่กว้างขึ้นด้วย Dual-octave

ใส่เพลงที่คุณชื่นชอบลงในซอฟต์แวร์ตัดต่อเสียงใดก็ได้แล้วตั้งใจฟังให้ดี ในขณะที่ค่อย ๆ เลื่อนผ่าน Presets ลอง Bypass Plug-in เป็นระยะ พยายามโฟกัสแถบ octave หรือ dual-octave รวมถึงแถบของกลุ่ม octave ที่อยู่ติดกัน หากคุณรู้สึกว่าสามารถจับช่วงความถี่ต่างๆ ได้ดีแล้ว คุณสามารถลองใช้แอปฝึกการได้ยินเพิ่มเติม เช่น Pro Audio Essentials ของ iZotope หรืออื่นๆ เช่น PureMix, SoundGym หรือ Quiztones ทักษะนี้อาจใช้เวลานานในการฝึกฝน แต่เชื่อสิ ผลลัพธ์จะคุ้มค่ากับความพยายามแน่นอน!




2. ฝึกจับคู่ระดับความดังของทั้งสองเพลงให้ตรงกัน

ฟังดูเหมือนง่าย แต่นี่เป็นหนึ่งในทักษะการฟังขั้นพื้นฐานที่สุดที่ระดับ Mastering engineer ต้องมี เครื่องวัด LUFS สามารถช่วยคุณได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วหูของคุณเองต่างหากที่จะตัดสินที่ดีที่สุด อย่ามองข้ามทักษะนี้เด็ดขาดเพราะมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณสามารถมิกซ์เสียงและควบคุมเสียงได้ อีกทั้งเป็นตัวชี้วัดว่าความสามารถของคุณมีมากเพียงใด ความยากในการจับคู่ระดับเสียงจะอยู่ที่ความสมดุลของเสียงและไดนามิกของทั้งเพลง แต่แท้จริงแล้วไดนามิกนั้นจัดการง่ายนิดเดียว


• ลองปรับไดนามิกเพลง

การหาความดังทั้งหมดของเพลงที่มีไดนามิกกว้างอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นคุณจึงควรเน้นแค่ส่วนท่อนที่ดังที่สุด โดยอาจเป็นท่อนคอรัสสุดท้าย หรือท่อนหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ให้หาส่วนที่ดังที่สุดของสองเพลงและเปรียบเทียบเพื่อปรับปุ่ม gain ให้มีความสมดุลของเสียงเท่ากัน

• ลองปรับสมดุลเสียง

หากคุณไม่สามารถแยกได้ว่าอันไหนคือความสมดุลของเสียง (Balance) ให้คุณลองเพิ่มระดับของเพลงและเพื่อให้ได้ยินเสียงทุ้มและเสียงแหลมมากขึ้น หรือลองเน้นเสียงกลางให้มากขึ้น หากยังไม่เวิร์ค ให้เลือกองค์ประกอบหลักในแต่ละเพลงและเปรียบเทียบกัน โดยหลักแล้วเรามักจะเปรียบเทียบเสียงร้องนำ แต่จริง ๆ แล้วเสียงแตรหรือเสียงเครื่องดนตรีเมโลดี้หลักอื่นๆ ก็สามารถนำมาเปรียบเทียบได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรเลือกเปรียบเทียบสองเพลงที่มีสเปกตรัมต่างกันอาจทำให้ยากต่อการแยกสมดุลเสียง




3. ฝึกฟังเสียงที่บีบอัด (Compress)

ถือว่าเป็นหนึ่งในทักษะด้านวิศวกรรมเสียงที่ยากที่สุด และเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดและต้องฝึกฝนอย่างมาก การบีบอัดเสียงสามารถนำมาใช้สำหรับการควบคุมไดนามิกเพลงได้อีกด้วย

วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคุณในการเริ่มฝึกคือการตั้งค่า Compressor ด้วยอัตรา 4:1 หรือ 6:1 และเวลาปล่อยอย่างรวดเร็วประมาณ 25 มิลลิวินาที โดยเริ่มจากการตั้งปุ่ม Threshold ให้มากที่สุด และตั้งค่า Attack set ให้ช้าที่สุด มิกซ์แล้วฟัง จากนั้นให้ลดปุ่ม Threshold ลงจนกว่าจะถึงระดับ 6-8 เดซิเบล ค่อย ๆ ลด Attack time และฟังสิ่งที่เกิดขึ้นกับจังหวะหลัก (Punch, Tonality, Kicks and Snares)


เมื่อคุณพบ Attack time ที่เหมาะสมกับเพลงแล้ว ให้ลองเพิ่ม Release time ฟัง Effect ที่มีต่อ ความดังของเสียง, ความแน่น, โทนของเสียง, และ การเคลื่อนตัวของเสียง จากที่นี่ คุณสามารถเริ่มทดลองกับ Ratio, Knee, and Sidechain filtering และหากคุณการเปลี่ยนกลับไปใช้การตั้งค่า Attack set, Release และ Ratio setting ที่มากขึ้นอาจทำให้การปรับเปลี่ยนอื่น ๆ ได้ยินได้ง่ายขึ้น แล้วคุณจะสามารถได้ยินการ Compress ที่ละเอียดมากขึ้นตาม




4. ฝึกหาตัวจำกัดเสียง (Limiter)


Limiter นั้นมีลักษณะคล้ายกับ Compressor แต่อาจไม่ได้ยินยากเท่าการฟัง Compress แต่เนื่องจาก Limiter ทำให้เกิดการเพิ่มระดับเสียงจึงมักถูกเสียงดังกลบ โชคดีที่มีวิธีง่าย ๆ ในการหา Limiter เพราะส่วนใหญ่จะเชื่อมกับตัวควบคุม Input และ Output ทำให้คุณได้ยิน Effect ของ Limiterโดยไม่เปลี่ยนระดับใดๆ ใน Maximizer ตัวควบคุมเหล่านี้เรียกว่า "Threshold" และ "Ceiling" และตัวควบคุม "Link" ที่อยู่ข้างใต้จะช่วยให้คุณสามารถเคลื่อนย้ายเข้าด้วยกันได้ ให้คุณลองเชื่อมพารามิเตอร์ แล้วฟังไป แล้วดึง Threshold ลง จากนั้นฟังการเปลี่ยนแปลงของมันที่ Transient ซักพัก Limiter ใหม่ๆสมัยนี้มักได้ยินยากหากคุณใช้ Limiter น้อย เมื่อพอคุณเริ่มผ่าน 4, 5 หรือ 6 dB ให้ฟังจังหวะที่กลองเริ่มดึงกลับเข้าไปในมิกซ์ และลองทิ้งอิมแพคและเปลี่ยนโทนเสียงเล็กน้อย การปรับวิธีนี้จะช่วยให้ได้ยินได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณใช้ Limiter มากเกินไป


วิธีการเพิ่ม Limiterโดยไม่เพิ่ม Gain จะยังช่วยให้คุณเปรียบเทียบการตั้งค่าอื่น ๆ บน Limiter ได้ง่ายขึ้น เช่น การลิงค์เสียง การเน้นเสียง เช่นเดียวกับการ Compress การทำสิ่งต่างๆ มากเกินไปในตอนแรกสามารถช่วยให้หูของคุณจดจำลักษณะเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณนำมาปรับให้เหมาะสมในภายหลัง




5. ฝึกฟังเสียง Clicks Pops และเสียงอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามา


นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในขั้นตอนการตรวจงานขั้นสุดท้าย คุณจำเป็นต้องใช้หูฟังคุณภาพสูงซักนิดเพื่อช่วยเน้นเสียงให้ละเอียดมาก แต่คุณยังต้องตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนที่สุดอย่างรอบคอบและตั้งแต่ต้นจนขั้นสุดท้าย เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ในงานของคุณ ข้อผิดพลาดสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ในทุกขั้นตอน ซึ่งอาจแทรกตอนที่เราแก้ไข ผลิต มิกซ์ หรืออาจเป็นผลมาจากขั้นตอนการเรนเดอร์ไฟล์ขั้นสุดท้าย บัฟเฟอร์อันเดอร์รัน และข้อผิดพลาด dsp อื่นๆ รวมถึงปัญหาการบัฟเฟอร์ของฮาร์ดดิสก์ ข้อผิดพลาดในการส่งไดรเวอร์หรืออื่น ๆ เช่นกัน


ในการตรวจสอบ คุณต้องมีการเปรียบเทียบงานที่คุณผลิตกับไฟล์ต้นฉบับให้เรียบร้อยทุกครั้ง สิ่งสำคัญคือคุณต้องมีไหวพริบและรวดเร็ว รวมถึงความตระหนักและรอบคอบ ดังที่ Jonathan Wyner กล่าวไว้ว่า “You can fix it in the mix, but you can’t fix it in the distribution!” ดาวน์โหลดเพลงและฟังต้นฉบับด้วยหูฟังที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น จากนั้นให้ดูว่าคุณสามารถหาข้อผิดพลาด จากนั้นให้ลิสต์ข้อผิดพลาดเหล่านั้นพร้อมกับเวลาและคำอธิบายสั้นๆ อย่าลืมตรวจสอบทั้งเวอร์ชันที่ผ่านกระบวนการผลิตและไฟล์ต้นฉบับเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อผิดพลาดอยู่ในฉบับใดกันแน่


ประเภทของเสียงผิดปกติที่คุณอาจเจอ :


• Thumps, pops, tics, and clicks:

เสียงเหล่านี้อาจอยู่ในช่วงความถี่หรือช่วงระดับเสียงใดก็ได้ เนื่องจากเป็นเสียงที่มีระยะเวลาสั้นมาก ทำให้คุณอาจหาได้ยาก ดังนั้นคุณต้องพยายามฟังเสียงที่ปนแทรกมานอกเหนือจากเสียงดนตรีให้ได้


• Dropouts:

สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะ Channel เดียวหรือหลาย Channel สิ่งนี้มีระยะเวลาสั้นเช่นกันจึงอาจหาได้ยาก แต่คุณจะหาได้ง่ายแน่นอนหากคุณใช้หูฟังคุณภาพสูงในการตรวจสอบ และที่สำคัญ ให้คุณลองตั้งใจฟังเป็นพิเศษในช่วง fade-ins, fade-outs, และ reverb tails เพราะข้อผิดพลาดมักจะอยู่ในช่วงเหล่านั้น


• การตัด หรือการบิดเบือนอื่นๆ:

มักจะปรากฏบนช่วงที่มีความถี่เสียงต่ำมาก ๆ เช่น Kicks หรือช่วงหน้าของโน้ตเบส ความพลาดจำพวกนี้สามารถเล็ดลอดไปได้ง่าย จึงต้องระวังอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้มันสามารถบิดเบือนเสียงร้องและเครื่องดนตรีนำอื่น ๆ ได้


นำไปประยุกต์ใช้


หลังจากที่คุณได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไปแล้ว ระลึกไว้ว่าไม่มีทางลัดใดให้เก่งขึ้นได้ทันที แต่คุณสามารถฝึกฝนและพัฒนามันได้อย่างเต็มที่ ทักษะอื่น ๆ ก็เช่นกัน


ก่อนจากกันไป คุณต้องมีความมุ่งมั่นในการเป็น Mastering engineer ลองตั้งเป้าหมายและจัดสรรเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง หมั่นทำเป็นประจำ 4-5 วันต่อสัปดาห์ โดยคุณต้องนั่งและฟังเพลงในสตูดิโอของคุณเพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้ตรวจสอบงานอย่างตั้งใจแล้วจริง ๆ ให้สมกับความตั้งใจที่คุณได้ทำมันออกมา

สุดท้ายนี้ หวังว่าสิ่งที่ได้นำเสนอไปทั้งหมดจะช่วยให้คุณพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มากก็น้อย เพียงแค่คุณฮึดสู้ต่อไป ขอให้คุณโชคดีและ enjoy ไปกับมัน!


สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเรามีคอร์สเรียนทำเพลง ที่สอนตั้งแต่พื้นฐาน ไปจนถึงจบเพลงแบบ Mastering ที่สามารถนำไปปล่อยบน streaming online ได้เลย


และสำหรับใครที่อยากจะจบงานเพลงได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ สามารถใช้ TONG APOLLO PREET ได้เลยครับ


Youtube : Tong Apollo

Instagram : classabytongapollo

Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo

TikTok : Class A by Tong Apollo




Comments


bottom of page