เพื่อนๆหลายคนที่ได้ยินคำว่า Autotune เข้าไปก็จะพากันนึกถึงเสียงที่มันการใส่เอฟเฟคลูกเล่นปรับคีย์ปรับเสกลกันเป็นว่าเล่น เจอกันในเพลง hip hop กันบ่อยๆ แต่เพื่อนๆรู้ไหมครับว่า autotune นั้นเราแทบจะเจออยู่ในเพลงทุกแนว ไม่แน่ว่าทุกเพลงในเพย์ลิสต์ที่เพื่อนๆกำลังฟังอยู่ตอนนี้ก็อาจจะใช้ autotune กันทุกเพลงเลยก็เป็นได้ครับ
ด้วยวิชาลับที่เหล่า engineer ต่างร่ำเรียนกันมา การทำให้ autotune นั้นกลมกล่อมลงไปกับเสียงเพลงนั้นถือเป็นเรื่องที่เจอได้ทั่วไปครับ ระดับของ autotune ที่เราเจอกันบ่อยๆจะมีอยู่สามระดับครับเริ่มตั้งแต่ แนบเนียน พอมีสีสัน และก็ autotune แบบเน้นๆเลย
ว่าแต่ว่า Autotune คืออะไรกันนะ?
โดยหน้าที่หลักของ autotune ก็คือการใช้เพื่อแก้ไขระดับเสียงที่ผิดคีย์ครับ ทั้งเสียงร้องรวมถึงเสียงดนตรีด้วย นอกจากนี้ยังถูกเอาไปใช้เป็นเอฟเฟคในการทำเสียงให้ดูสังเคราะห์อย่างที่เราคุ้นเคยครับ หากจะบอกว่ามันคือ pitch correction ก็ไม่ผิดครับ เพราะมันถูกสร้างและจดทะเบียนการค้าขึ้นโดย Antares Audio Technologies ซึ่ง DAW หลายๆตัวตอนนี้ก็มีเป็นปลั๊กอินในตัว aka autotune นั่นเองครับ ในช่วงแรกที่มีการใช้ autotune หลายๆเพลงก็ใช้กันตามปกติเพื่อปรับคีย์ตามปกติ จนกระทั่งการมาถึงของเพลง Believe ของ Cher ในปี 1998 ที่บอกเลยว่าฉีกออกมาจากขนบธรรมเนียมเดิมๆ
ขอวิธีใช้ Autotune หน่อยได้ไหม?
ในหัวข้อนี้ผมจะข้อพูดถึงการ autotune ให้กับเสียงร้องที่มีคุณภาพอยู่แล้วนะครับเพราะ autotune จะเข้ามามีส่วนในการทำให้เสียงนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ก่อนจะเริ่ม สำหรับเสียงร้องหรือเสียงเครื่องดนตรีไหนที่เราต้องการทำ pitch correction ต้องเป็นเสียงโมโนเท่านั้นนะครับ และยังต้องไม่มีเอฟเฟคอื่นๆอย่าง reverb, delay หรือเอฟเฟคอะไรก็ตามมาปนอยู่
1. หาปลั๊กอินให้เจอแล้วลองใช้ให้ชิน
ผมมั่นใจว่าเพื่อนๆที่ทำเพลงอยู่แล้วก็น่าจะคุ้นเคยกับ DAW ตัวเองอยู่แล้วเช่นกันนะครับ แต่สิ่งที่ผมไม่มั่นใจก็คือปลั๊กอินของแต่ละคนจะใช้ตัวเดียวกันไหม ในที่นี้ผมขอยึดจาก Logic Pro นะครับ ถึงหน้าตาจะต่างกัน แต่วิธีการทำงานนันเหมือนกันแน่นอนครับ เอาไปปรับใช้ได้สบายๆ
2. เลือกคีย์ สเกล และประเภทของอินพุต
ขั้นตอนนี้เพื่อนๆมีสองทางให้เลือกครับ ระหว่างเรามานั่งเลือกคีย์กับเสกลแล้วปล่อยให้มันจัดการ หรือไม่ก็วิธีที่สองอย่างการมานั่งไล่คีย์บนบอร์ดด้วยตัวเอง ในบางครั้ง แทนที่เราจะเลือกแค่คีย์ไหนคีย์เดียว autotune อาจจะถามเราถึง root โน๊ตของเสกลเลยครับ อย่างเช่นถ้าเพื่อนๆอยากจะใช้ G มันก็จะเพิ่ม G Minor หรือ G Major มาให้เลือกครับ ในกรณีที่เพื่อนๆปล่อย autotune จัดการเอง มันจะมีโน๊ตบ้างตัวที่เพื่อนๆอยากจะจิ้มแก้เองกับมือเพราะบางครั้งเสียงร้องที่เรามีนั้นมันก็ไม่ได้ใช้โน๊ตครบทุกตัวในเสกล และถ้าเสียงร้องต้นฉบับที่มันไม่ดีอยู่แล้วยิ่งแย่เลยครับ ในทางกลับกัน หากเราอยากได้เสียงที่มันแรปๆหุ่นยนต์ๆ เราก็คงต้องเลือกเป็น chromatic scale ซึ่งหมายความว่าโน๊ตทุกตัวที่มีจะถูกเอาไปใช้นั่นเองครับ
3. ถึงเวลาของ Retune Speed
ค่อยๆเริ่มจากความเร็วต่ำๆไว้ก่อนครับ อย่าง 400 ms/ 0.5 sec ด้วยความเร็วประมาณนี้จะทำให้เสียงที่ได้เรียบเนียนและไม่ฉูดฉาดมากไป แต่ถ้าความเร็วต่ำกว่านี้ ก็อาจจะไม่รู้สึกถึงอะไรเลยเช่นกันครับ และเมื่อเราค่อยๆไล่ความเร็วเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ มาตรวัดก็จะเริ่มแสดงให้เห็นโน๊ตต่างๆที่ขึ้นมาเป็นเปอร์เซ็นต์ว่าชัดยางมากแค่ไหน ซึ่งค่านี้และครับคือค่าที่เราต้องทำ pitch correction นั่นเอง
อธิบายอีกแบบนึงก็คือ retune speed เป็นค่าที่เราจะใช้กำหนดความช้าเร็วในการเข้าทำของ pitch correction ยิ่งค่าต่ำ pitch correction ก็จะยิ่งห้วน ออกเร็ว ทำให้เสียงออกมามีลักษณะหุ่นยนต์หรือ autotune ที่เราคุ้นหูกัน แต่ถ้าค่า retune speed เยอะ pitch correction ก็จะออกช้า ทำให้ได้เสียงที่เรียบเนียน ค่อยเป็นค่อยไปนั่นเองครับ
4. กำหนดเสียงที่ต้องการ
ไม่ว่าเพื่อนๆจะพยายามกระชากเสียงเพื่อให้ไปแตะโน๊ตที่ต้องการ เพื่อนๆก็ยังสามารถกลับมาแก้ใน pitch correction ได้อยู่ดีครับ ไม่มีใครร้องหรือไล่โน๊ตได้ถูกทุกตัวหรอกครับ ยังไงมันก็ต้องมีแก่งเสียงไปบ้าง ซึ่งไอ้การแกว่งเสียงนี้แหละครับ ที่ทำให้เพลงของเราฟังดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด และถ้า autotune ของเพื่อนๆมีสิ่งที่เรียกว่า flex tune ผมก็ขอแนะนำให้ใช้เลยครับ ด้วยความที่มันจะยอมให้เสียงร้องเหลุด pitch ออกไปบ้างตามที่เราต้องการว่ามากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเรายังกำหนดให้มันไม่ไปเปลี่ยน pitch ในเสียงร้องของเราหากมันใกล้เคียงโน๊ตที่เราต้องการอยู่แล้ว พวกรายละเอียดเล็กๆแบบนี้แหละครับที่ทำเพลงเราฟังแล้วลื่นหู
จากนั้นให้เราไปเล่นตัวปรับ Humanize ต่อครับ เจ้าตัวนี้จะเป็นตัวที่จะไปบอกปลั๊กอินเราว่าให้ยึดเสียงกับโน๊ตที่เราเลือกไว้ในตอนที่เสียงร้องเรามันเริ่มลากยาวออกทะเล และเพื่อไม่ให้ตัวปลั๊กอินไปแก้เสียงเป็นอีกโน๊ตแทน ให้คิดซะว่ามันคือ release ของ compressor ครับ ส่วนใหญ่จะใช้ตอนที่เสียงร้องมีการลากโน๊ตเดิมยาวๆตอนใกล้จบเสียงครับ
5. ถึงเวลาดูภาพรวมและกำหนดทิศทาง
หลังจากทำอะไรเสร็จ ก็ให้เรากลับมาฟังเสียงร้องเราควบคู่ไปกับเสียง backing track ครับ เพื่อดูภาพรวมของมิกซ์ อาจจะต้องมีการกรับไปแก้ retune speed นิดหน่อยซึ่งเป็นเรื่องปกติครับ
ถ้าเพลงไปแนว electronic-based เช่น dubstep หรือ EDM เราก็อาจจะอัดเสียง autotune ได้เน้นๆ แต่ถ้าเป็นเพลง classical jazz rock หรือ pop เราก็อาจจะให้ autotune ออกน้อยที่สุดเพื่อความเป็นธรรมชาติ
รายชื่อปลั๊กอินที่ผมเอามาฝาก
Celemony Melodyne
Antares Auto-Tune (various versions)
Wave Tune (various versions)
Zynaptiq Pitchmap
Melda MAutoPitch
Synchro Arts Revoice Pro
Izotope Nectar
Logic Pro Pitch Correction
Steinberg PitchCorrect
Cakewalk/Roland V-Vocal
Mu Technologies Mu Voice
ก็จบกันไปครับกับ autotune ในวันนี้ เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนก็น่าจะเข้าใจเรื่อง autotune กันไม่มากก็น้อยครับ หลายๆคนก็น่าจะได้ไอเดียหรือไม่ก็กล้าที่จะลองใช้ปลั๊กอินตัวนี้มากขึ้น ยังไงก็ขอให้สนุกกับการทำเพลงนะครับ
Enjoy your mix!
ส่วนใครที่สนใจทำเพลงแนว HipHop R&B Drill เราก็มีคอร์สเรียนออนไลน์พิเศษสำหรับแนวเพลงนี้โดยตรง โดยเรียนแค่ 1 คอร์สคุณจะได้เรียนถึง 3 แนวเพลงกันไปเลยแบบจุกๆ ในราคาเพียง 4,990 บาท สนใจสอบถามข้อมูลเข้ามาทาง Inbox เพจได้เลยนะครับ
Youtube : Tong Apollo
Instagram : classabytongapollo
Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo
TikTok : Class A by Tong Apollo
#สอนทำเพลงออนไลน์ #แต่งเสียงร้อง #classabytongapollo
Comments