1.หา Reference
การหา Reference นั้นไม่จำเป็นต้องมีแค่เพลงเดียวนะครับ หาหลายๆเพลงที่เราชอบละลองเอามาเป็นต้นแบบดูครับ และดูในส่วนของคีย์เพลง เช่นเราเจอเพลงที่เราชอบแล้ว ลองดูว่าคีย์เพลงนั้นคือคีย์อะไร เพราะคีย์เพลงก็สามารถแสดงอารมณ์ของเพลงได้ครับ จริงๆแล้วการหา Reference ไม่ได้แปลว่าเราต้อง Copy เค้าหรือเอามาทั้งเพลง ใช้เป็นแนวทางพอครับ
2.หา Inspiration
หลายๆคนยังไม่รู้ว่า ศิลปินที่ทำเพลงหลายๆคน เค้ามักจะหาเวลาพักผ่อน เช่น การไปเที่ยวธรรมชาติ หรือการเก็บตัวเพื่อ ครีเอทไอเดียการทำเพลง วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยให้เราสามารถสร้างผลงานได้ดีอีกวิธีนึงเลยก็ว่าได้ครับ
หรือถ้าใครอยากหา Inspiration ก็ลองไปตามงานเฟสติเวิล งานดนตรีต่างๆ นี้ก็เป็นอีกวิธีการสร้าง Inspiration นะครับ ลองใช้เวลากับตัวเองและคิดสร้างผลงานกันดูครับ
มีบทสัมภาษณ์ศิลปินชื่อดังอย่าง TIESTO พี่แกให้สัมภาษณ์ว่า เวลาแกจะทำเพลง เพลงนึงขึ้นมา แกมักจะ เอาอุปกรณ์ของแกไปเช่าโรงแรมริมทะเลเงียบๆ เพื่อทำเพลง เพลงนึงเลยครับ
TIESTO มักจะทำแบบนี้บ่อยๆในเวลาที่เค้ารู้สึกว่ามันตันหรือคิดอะไรไม่ออก และเค้ายังบอกด้วยครับ ว่า ธรรมชาติสามารถสร้างผลงานเพลงได้ดีเยี่ยมจริงๆครับ
3.หา Plugin ที่เหมาะสมกับเพลงของเรา
แต่ละแนวเพลง จะมีเอกลักษณ์ในส่วนของ Sample Sound ต่างๆ เช่นเสียง Kick,Snare,Clap ทีนี้เราก็ลองศึกษาดูจากศิลปินก็ได้ครับ
ว่าแนวเพลงที่เราจะทำ เค้าใช้ Plugin ตัวไหนกัน เลือกใช้ให้เหมาะสมกับแนวเพลงของเรา หา Chord Progression,Loop หรือ Sample มาช่วยในส่วนนี้ก็ได้นะครับ
สร้างโฟลเดอร์ไว้ในโปรแกรมที่เราใช้ทำเพลงเป็น Favorite ไว้ก็ดีนะครับเวลากลับมาทำครั้งต่อไป จะได้หาง่ายละไม่วุ่นวายครับ เสร็จแล้วก็เริ่มขึ้นโครงเพลงได้เลยครับ
5.Arranging หรือการเรียบเรียงเพลง
หลังจากทำขั้นตอนที่ 3 ไปแล้วนะครับก็มาถึงในส่วนของการเรียบเรียงให้กับเครื่องดนตรีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าต้องตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าจะใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้างใช้ปลั๊คอินอะไรบ้าง
แล้วจึงกำหนดว่าเครื่องดนตรีไหนจะเล่นอะไรและทำหน้าที่อะไรในท่อนต่างๆของเพลง พยายามสร้างโน๊ตและ Dynamic ของเครื่องดนตรีต่างๆที่แตกต่างกันไปในแต่ละท่อนนะครับ
เช่น ท่อนนี้ควรมีกีต้าร์เป็นคอร์ด ท่อนก่อนฮุคไลน์กลองจะส่งยังไง คอร์ดและเมโลดี้ต่างๆในแต่ละท่อนก็ควรทำให้ดูมี Dynamic เช่นกันครับ ถ้าทำซํ้าๆกันทั้งเพลงแน่นอนเลยครับ ว่าเพลงของเราจะดูไม่มีอะไรทันที
6.Mixing
เมื่อเราวางทุกอย่างครบไม่ว่าจะเป็น แทรคเสียงต่างๆ คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาทำการ Mixing แล้วครับ การมิ๊กซ์เพลง เบื้องต้นจะเริ่มจากการปรับระดับเสียงของทุกๆ แทร็คให้สมดุลย์และสัมพันธ์กันครับ
โดยจะมีการใช้ Audio Processing Plugins ต่างๆ เช่น Compressor, EQ, Reverb เพื่อทำให้แทร็คต่างๆ มีพื้นที่เป็นของตัวเองในเพลงครับ พื้นที่ในที่นี้รวมถึงพื้นที่ทั้ง ซ้ายและขวา ของลำโพงสองข้าง
ในระบบ Stereo ด้วยนะครับ เรียงลำดับความดังเบาและความสำคัญของเครื่องดนตรีต่างๆในเพลงของเรา และอย่าลืมดูเรื่องย่านเสียงสูงและตํ่าด้วยนะครับ การมิ๊กซ์ที่ดีนั้นจะต้องไม่ทับซ้อนกันจนฟังแยกชิ้นเครื่องดนตรีไม่ออก
แต่ในขณะเดียวเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก้ต้องส่งเสริมซึ่งกันและกันด้วย ครับ
7.Mastering
ขั้นตอนสุดท้าย การ Mastering เป็นการนำเพลงที่คุณมิกซ์เสร็จแล้วมา Process ครั้งสุดท้ายก่อนจะนำไปเผยแพร่ออกให้โลกได้รับรู้ถึงผลงานของเราครับ
จุดมุ่งหมายของการทำ Mastering คือการทำให้เพลงของคุณฟังเพราะที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ ในทุกๆ Platforms ไม่ว่าจะเป็นในสตูดิโอของคุณเอง บนลำโพงมือถือ บนลำโพงแลปทอป หรือในหูฟัง
การ Mastering ส่วนมากจะให้ความสำคัญกับระดับความดังของเสียง ความสมดุลย์ของย่านเสียงต่างๆ และความกว้างของ Stereo Field เพื่อทำให้แทร็คนั้นสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
จริงๆแล้วนะครับ 7 ขั้นตอนนี้ถ้าเป็นงานระดับมืออาชีพ แต่ละขั้นตอนเค้าจะมีผู้เชียวชาญเฉพาะทางมารับผิดชอบแต่ละขั้นตอนอยู่ เช่นขั้นตอนแรกเริ่มจาก การแต่งเพลงแล้วส่งให้ Arranger เรียบเรียงในขั้นตอนที่สอง พอเรียบเรียงเสร็จก็ส่งให้ Producer ทำ Midi Sequencing และควบคุมกันอัดโดย Recording Engineer และก็มิ๊กและมาสเตอริ่งอีกต่างหาก
แต่สำหรับคนทำเพลงอย่างเราๆก็ไม่จำเป็นต้องทำถึงขั้นนั้นก็ได้ครับ ให้ใช้ 6 ขั้นตอนที่เราบอกไป ก็จะทำให้งานที่เราทำงั้นง่ายขึ้นครับ อย่าทำอะไรซํ้าไปซํ้ามาวนไปวนมา มั่นใจในตัวเองครับ
แค่นี้เราก็ทำผลงานออกมาได้อย่างไม่วุ่นวายครับ ที่สำคัญนะครับ ฟังเพลงเยอะๆครับ หาศิลปินที่ชื่นชอบและลองมองเอาเป็นแนวทางดูครับ
Youtube : Tong Apollo
Instagram : classabytongapollo
Facebook : สอนทำเพลงออนไลน์ Class A by Tong Apollo
TikTok : Class A by Tong Apollo
#สอนทำเพลงออนไลน์ #แต่งเสียงร้อง #classabytongapollo
Comments